วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

 บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

การติดต่อของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความมั่นคงและพัฒนาการขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจการจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งานการตัดสินใจเป็นบทบาทของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ การมีสารสนเทศที่ดีและเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล  รวบรวม  และวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆได้อย่างรวดเร็วสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จึงกล่าวถึงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support System: DSS)  ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน
 การตัดสินใจของผู้บริหารระดับของการจัดการ  สามารถแบ่งได้  3  ระดับคือ
1. การจัดการระดับสูง (Upper-level  management) เป็นสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างและเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ จากภายในและภายนอกองค์การการจัดการระดับนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท และกรรมการผู้จัดการ
2. การจัดการระดับกลาง (Middle-level  Management) เป็นการวางแผนยุทธวิธีและประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารงาน ระดับต้นหรือหัวหน้างาน ระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการฝ่าย
3. การจัดการระดับต้น (Lover-level Management)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานประจำวันซึ่งขั้นตอนการทำงานมีรูปแบบที่แน่ นอนและทำงานใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนของผู้ บริหารระดับกลางระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับต้น เช่น หัวหน้างานหัวหน้าแผนก
การตัดสินใจ  (Decision Making) ประกอบด้วย  5   ขั้นตอนคือ
1)การใช้ความคิดประกอบเหตุผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบแยกแยะและกำหนดระยะละเอียดของปัญหาหรือโอกาส
2)การออกแบบเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้
3)การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับปัญหา และ สถานการณ์มากที่สุด
4)การนำไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจแล้ว นำไปปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้อง ประการใดและจะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
5)การตรวจสอบประสิทธิภาพในการตัดสินใจ เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรหากมีข้อผิดพลาด สามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อหาเลือกเลือกใหม่อีกครั้ง

ระดับของการตัดสินใจในองค์กร   ได้ 3  ระดับคือ
1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ทีให้ความสนใจในอนาคต เช่นการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว
2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี    เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดไว้
3. การตัดสินใจเชิงปฏิบัติ   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างาน เช่นการตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง

ประเภทของการตัดสินใจ     จัดเป็น    รูปแบบ คือ
1.การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision)  เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่างคือมีขั้นตอนหรือกระบวนในการแก้ปัญหาที่แน่ชัดและเป็นโครงสร้างการตัดสินใน เชิงน่าจะเป็น เช่น การสั่งซื้อสินค้าคงคลังซึ่งสามารถทราบการคำนวณจุดสั่งซื้อและทำการสั่งซื้อ เมื่อจำนวนสินค้าต่ำกว่าระดับที่กำหนด
2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง   (Semi-structured Decision)   เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง คือสามารถระบุกระบวนการหรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วนแต่ไม่มากพอ ที่จะนำไปตัดสินใจได้อย่างแน่นอนอีกส่วนหนึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์และ วิจารณญาณของผู้ตัดสินใจหรืออาจต้องอาศัยโมเดลต่างๆ ประกอบเพื่อช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การซื้อขายหุ้นการประเมินผลด้านเครดิต
3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง  (Unstructured   Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจได้ล่วงหน้าเช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
ส่วนประกอบของระบบDSS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3   ส่วน
1.ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem)  ประกอบด้วยฐานข้อมูลระบบจัดการฐานข้อมูลส่วนสอบถามข้อมูลสารบัญข้อมูล  ส่วนการดึงข้อมูล ระบบDSSอาจเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูลเพื่อดึงหรือกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจ
2. ส่วนจัดการโมเดล  (Model   Management Subsystem)  ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง ,ระบบจัดการแบบจำลอง  ,  ภาษาแบบจำลองสารบัญแบบจำลองและส่วนดำเนินการแบบจำลอง
3. ส่วนจัดการโต้ตอบ  (Dialogue Management Subsystem)เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบเพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานส่วนจัดการความรู้(Knowledge-based Management Subsystem) DSSขั้นสูงจึงจะมีส่วนที่เรียกว่าส่วนจัดการองค์ความรู้

ประเภทของระบบDSSจำแนกออกเป็น  2   ประเภท
1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก  (Model-drivenDSS)   เป็นระบบจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่างๆ
2.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก  (Data-drivenDSS)  เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่างๆ เช่น โมเดลบัญชีระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS) เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้  

 คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคลส่วนประกอบของ GDSS1) อุปกรณ์ (Hardware)
2) ชุดคำสั่ง (Software)
3) ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model Base)
4) บุคลากร (People)

บทที่ 7 ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์การ

บทที่ 7 ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์การ




การทำความเข้าใจขอบเขตของระบบในการวางแผนทรัพยากรองค์กร จากนิยามนั้นเป็นเรื่องยาก
ดังนั้นการได้เห็นตัวอย่างการทำงานของระบบจะช่วยให้จับคู่การทำงานของระบบกับกระบวนการดำเนินธุรกิจของจริงได้ง่ายขึ้น
ในเรื่องนี้จะนำโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กรหนึ่ง ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งน่าจะช่วยให้เห็นภาพรวมของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร โดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี แต่นักศึกษาพึงศึกษาเพิ่มเติมจากโปรแกรมอื่นๆ ด้วย เนื่องจาก ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรของแต่ละตัวจะมีขอบเขตและชื่อเรียกระบบย่อยที่แตกต่างกัน และมักจะมีจุดเด่นต่างกัน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ในที่นี้แต่ละระบบงานหรือโมดูล (module) อาจจะไม่ตรงกับชื่อที่ปรากฏในโปรแกรมจริง เนื่องจากผู้เขียนต้องการใช้เป็นชื่อกลางๆ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปมากกว่าการอิงอยู่กับชื่อที่เฉพาะเจาะจง
1. ระบบงานย่อยในการวางแผนทรัพยากรองค์กร
การวางแผนทรัพยากรองค์กรส่วนมากประกอบด้วยโมดูลที่ตอบสนองการทำงานของแต่ละหน่วยงานทางธุรกิจ (business unit) ขององค์กรทางด้านธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า งานส่วนหลัง (back office) ทั้งส่วนที่เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ หรืออุตสาหกรรมก็ตาม และมักจะมีโมดูลอื่นๆ เสริมเข้ามาเพื่อรองรับการใช้งานขององค์กร เช่น ระบบพีโอเอส (POS) ระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ระบบการวางแผนวัตถุดิบ (MRP) ระบบควบคุมงบประมาณ (BOQ) ธุรกิจอัจฉริยะ (BI) เว็บท่าหรือเว็บพอร์ทัล (web portal) หรือโมดูลที่ขยายขอบเขตไปนอกสำนักงาน เช่น การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการโซ่อุปทาน เป็นต้น ตลอดจนแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (mobile application)
การวางแผนทรัพยากรองค์กรเป็นระบบงานขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น การนำระบบอื่นมาเชื่อมโยงกับการวางแผนทรัพยากรองค์กรย่อมสามารถทำได้เสมอ และข้อมูลทั้งหมดจะสามารถรวมกันบนมาตรฐานเดียวกันได้ ช่วยผู้บริหารจะสามารถควบคุมการทำงานและเรียกดูรายงานได้ตลอดเวลา
2. โมดูลต่างๆ ในระบบงานส่วนหลังของการวางแผนทรัพยากรองค์กร
จากการวางแผนทรัพยากรองค์กรที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น โมดูลต่างๆ ที่อาจพบได้ในระบบงานส่วนหลัง (back office)  เช่น ระบบจัดซื้อ (PO) ระบบงานขาย (SO) ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC) ระบบสินทรัพย์และการคำนวณค่าเสื่อม (FA) ระบบบัญชีทั่วไป (GL) ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP) ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) ระบบควบคุมเช็ค(CQ) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ระบบควบคุมการผลิต (MRP) ระบบภาษี (TAX) ระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ระบบวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อการจัดจำหน่าย(S&OP) และระบบบัญชีการเงิน (FI)
3. หน่วยงานตามความรับผิดชอบในระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
การวางแผนทรัพยากรองค์กรเป็นระบบที่ใช้ในระดับที่ครอบคลุมทั้งองค์กร (enterprise-wide) สามารถรองรับโครงสร้างองค์กรทั้งองค์กรได้ เป็นระบบที่เป็นศูนย์กลางของทุกระบบงานและทุกส่วนงานหรือโมดูล (modules) ต่างๆ ในระบบงานส่วนหลัง (back office) จึงสะท้อนโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการดำเนินการและใช้ในการประเมินผลงานตามความรับผิดชอบ (performance base) ตามสายบังคับบัญชา ระบบงานส่วนหลังของการวางแผนทรัพยากรองค์กร จะสามารถกำหนดหน่วยงานตามความรับผิดชอบ (responsibility center) หรือหน่วยธุรกิจ (business unit) ให้เหมาะสมกับกิจการต่างๆ ได้ การวางแผนทรัพยากรองค์กรบางระบบสามารถรองรับองค์กรที่เป็นในรูปของกลุ่มบริษัท รองรับการบริหารงานแบบหลายมิติ (multi-dimensional) ได้ ช่วยให้การประเมินผลงานเป็นไปได้อย่างละเอียด ช่วยให้การจัดสรรทรัพยากร และการจัดสรรต้นทุน เป็นไปอย่างละเอียดและตรงตามความรับผิดชอบ และช่วยให้ประเมินไปถึงลูกค้าหรือคู่ค้าได้ สามารถเปรียบเทียบต้นทุนและผลกำไรแยกตามรายสินค้าได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้บริหารนำไปใช้ในการวางกลยุทธ์ขององค์กรทั้งในระยะสั้นไปจนถึง

บทที่ 6 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทที่ 6 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์





ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
            ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Business คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่าย ที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วม Internetworked Network ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการ โดยใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร แคตตาล็อคอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่างๆที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์  ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูล ที่มีข้อความ เสียง และภาพ  ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์  การประมูล  การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน  การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ  การขายตรง  การให้บริการหลังการขาย  ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค  อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล  บริการด้านการเงิน บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข การศึกษา ศูนย์การค้าเสมือน Virtual Mall)

สรุป
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร  โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น  จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาลงได้
ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แบ่งออกเป็น
1.       กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร Profit Organization
-          Business – to – Business (B2B)
คือรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ          มีมูลค่าการซื้อขาย  แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก เป็นการค้าส่ง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C หรือในรูปของ Bill of Exchangeอื่นๆ
-          Business – to – Customer (B2C)
คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการค้าปลีก
-          Business – to – Business – to – Customer (B2B2C)
หมายถึง การเชื่อมต่อ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน นั่นก็คือ เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่ธุรกิจได้ขายช่วงต่อไปยังภาคธุรกิจด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นบริษัทในเครือหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกันแต่ในด้านการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ก็ยังคงส่งมอบไปยังผู้บริโภคโดยตรงในแต่ละราย หรือองค์กรธุรกิจขายให้องค์กรธุรกิจด้วยกัน แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง
-          Customer – to – Customer (C2C)
เป็นรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่นการประกาศขายสินค้าใช้แล้ว
-          Customer – to – Business (C2B)
หมายถึง เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้าและมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการก็จะนำราคาที่ลูกค้าเสนอมาให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิตพิจารณาว่าสามารถจำหน่ายหรือขายได้ในราคานี้หรือไม่ หรือการที่ลูกค้าสามารถระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไป แล้วองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า
เป็นรูปแบบการค้าที่ใกล้ตัวมากๆ จนเรานึกไม่ถึง เป็นรูปแบบการค้าที่ Consumer หรือผู้ใช้นำสินค้ามา Reviews หรือวิเคราะห์สินค้า จนเว็บเราดังมีคนสนใจเข้ามาชมมาก เราก็จะทำธุรกิจ (Business) กับ Amazon โดยการเอาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับที่เรา Reviews มาขาย ซึ่งถ้าขายได้ Amazonก็จะแบ่งตังให้กับเรา หรือแม้แต่ Adsense ก็เป็นธุรกิจแบบ C2B คือ Consumer ทำธุรกิจกับ Businessโดยนำเสนอสิ่งที่ Business ต้องการ ซึ่งในกรณี Adsense ที่เขาต้องการก็คือเนื้อหาเว็บที่ดีมีประโยชน์ของ Consumer ที่ทาง Google จะเอาไปขายต่อให้กับพวกที่ต้องการโฆษณาบนเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าตนเอง หรือพวกที่ทำ Adwords ไงครับ
-          Mobile Commerce
หรือ M-Commerce หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้าต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีความสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce
ขอบเขตของ M-Commerce จะครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ B2C และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง B2B

2.       กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร Non-Profit Organization
-          Intrabusiness (Organization) E-Commerce
อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-          การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
   การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
   การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
-          Business – to – Employee (B2E)
การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน (Business-To-Employee–B2E) มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ องค์กร กับพนักงาน โดยอาศัยระบบเครือข่าย
-           Government – to – Citizen (G2C)
การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน (Government-To-Citizen–G2C) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การยื่นแบบชำระภาษีของกรมสรรพากร
-          Collaborative Commerce (C-Commerce) เช่น เครือซีเมนต์ไทย
ซี คอมเมิร์ซ (c-Commerce) หรือ Collaborative Commerce เป็นที่รู้จักกันในต่างประเทศได้เป็นเวลานานพอควรแล้วภายหลังจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) แก่บริษัทที่นำไปใช้อย่างเห็นได้ชัด อุตสาหกรรมที่ริเริ่มใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน และในปัจจุบันได้แพร่ขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง เครื่องจักร รวมไปถึงอุตสาหกรรมบริการต่างๆ
สำหรับในประเทศไทยซี-คอมเมิร์ซ เริ่มมีการกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากการตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้กับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโลก และตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ Wasserstein Perella Securities, Inc. ได้ออกรายงานการศึกษาว่า นับจากนี้ไปถึง ปีข้างหน้า บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งสามของสหรัฐอเมริกา จะสามารถ
-          Exchange – to – Exchange (E2E)
การทำธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange-To-Exchange–E2E) เป็นช่องทางสำหรับใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน
-          E-Learning
e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 

บทที่ 5 โทรคมนาคมและระบบเครือข่าย

บทที่ 5 โทรคมนาคมและระบบเครือข่าย



การสื่อสารคมนาคม
± โทรคมนาคม(Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
± ปัจจุบันการถ่ายทอดสัญญาณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
± ระบบโทรคมนาคม(Telecommunications systems) คือ ระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและ ถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง

ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร
± ช่องสื่อสาร(communication channels) หมายถึง รูปแบบใดๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง
± สื่อต่างๆ ที่ใช้ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอ็กเซียล สายใยแก้วนำแสง สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณผ่านดาวเทียม และสัญญาณไร้สายแบบต่างๆ

ระบบเครือข่ายสื่อสาร
Topology หมายถึงโครงสร้างของเครือข่าย แบ่งออกเป็น
± ระบบเครือข่ายดาว
± ระบบเครือข่ายบัส
± ระบบเครือข่ายวงแหวน

ระบบเครือข่ายแบบดาว(star topology)
± ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(host computer) ที่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และอุปกรณ์อื่นๆ เหมาะสำหรับงานที่ประมวลผลที่ศูนย์กลาง และมีบางส่วนที่ประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้งาน
± เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะควบคุมระบบสื่อสารทั้งหมด

ระบบเครือข่ายแบบบัส(bus topology)
± ระบบบัสเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดด้วยสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว สัญญาณจะถูกส่งออกมาในลักษณะกระจาย(broadcast) ซึ่งจะถูกส่งออกไปในสายสัญญาณถึงอุปกรณ์ทุกตัว
± ไม่มีอุปกรณ์ใดควบคุมระบบเลย มีข้อเสียคือถ้ามีอุปกรณ์จำนวนมากในเครือข่ายจะทำให้ระบบช้าลงมากเพราะจะเกิดการชนกันของข้อมูล(collision)

ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน(ring topology)
± มีลักษณะคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบบัส คือไม่มีอุปกรณ์ตัวใดควบคุม
± ความล้มเหลวของอุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่มีผลกระทบกับอุปกรณ์ที่เหลืออยู่
± อุปกรณ์แต่ละตัวสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นได้
± มีลักษณะการต่อเป็นวงกลม ข้อมูลในสายจะถูกส่งผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวต่อๆ กันเป็นวงกลม

PBX-- LAN—WAN
± PBX(Private Branch Exchange) เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับจัดการบริหารการเชื่อมต่อวงจร โทรศัพท์จากสายนอกเข้ากับสายโทรศัพท์ภายในองค์กรอย่างอัตโนมัติ
± ระบบเครือข่ายเฉพาะที่(Local Area Network:LAN)เป็น ระบบเครือข่ายบริเวณไม่กว้างมากนัก เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์สื่อสารเข้าด้วยกันโดยมีช่องทางสื่อสารเป็นของตนเอง มีซอฟต์แวร์เครือข่ายเป็นของตนเองเฉพาะเรียกว่า NOS(Network Operating System)
± ระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง(Wide Area Network:WAN) เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างขวางมาก เช่นการเชื่อมต่อระบบระหว่างสาขาของธนาคาร เป็นต้น

รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับระบบเครือข่าย
± ใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
± โครงสร้างของ TCP/IP แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
Ø โปรแกรมประยุกต์
Ø ทีซีพี
Ø ไอพี
Ø Network Interface
Ø Physical Net

บลูทูธ(Bluetooth)
± บริษัท ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารให้ความสนใจในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารที่มีขนาดเล็ก ความเร็วสูง ไร้สาย สำหรับสถานที่ทำงาน สถานศึกษา และบ้านพักอาศัยทั่วไป
± บลู ทูธเป็นมาตรฐานในการสื่อสารแบบไร้สายระหว่างเครื่องโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มือถือที่มีระยะทางห่างกันประมาณ 100  เมตรจากสถานีหลัก

อินเทอร์เน็ต(Internet)
± เป็น ระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายขนาดต่างๆ เข้าด้วยกัน มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กรและระหว่างองค์กรที่อยู่ห่าง ไกลกันเป็นพันๆ ไมล์ได้ 
± อิน เทอร์เน็ตจึงเป็นเทคโนโลยีหลักในการสร้างระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่สนับ สนุนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และองค์กรดิจิตอล

เครือข่าย WWW
± เครือข่าย WWW มีโครงสร้างแบบ client/server architecture ให้บริการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้
± มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกที่น่าสนใจ และใช้งานง่าย
± ใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล(Hypertext Markup Language : HTML) ในการเชื่อมโยงข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ
± Homepage เป็นเว็บเพจหลักขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยส่วนใหญ่จะนำเสนอข้อมูลที่องค์กรนั้นๆ ต้องการนำเสนอถึงผู้เข้าชม 
± โฮมเพจจะเป็นประตูบ้านที่จะนำไปสู่เว็บเพจ(web pages)อื่นๆ ที่จะเก็บไว้ในเว็บไซต์(web site) ซึ่งจะมีผู้ดูแลคือ เว็บมาสเตอร์(web master)
± ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า Uniform Resource Locator (URL)
± http ย่อมาจาก hypertext transport protocol เป็นโพรโทคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลเว็บเพจ

การสืบค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายเว็บ
± Search engine เป็นเว็บไซต์ที่มีซอฟต์แวร์พิเศษที่ค้นหาเว็บไซต์ทีละแห่งหรือทีละกลุ่มเพื่อให้ตรงกับข้อกำหนด ตัวอย่างเช่น lycos, Altavista, go.com, google
± เว็บไซต์บางแห่งให้บริการสืบค้นจาก search engine ต่างๆ หลายๆ แห่งซึ่งจะต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการค้นหาเฉพาะ เว็บไซต์เหล่านั้นได้แก่ spiders, bots, และ web crawlers
± Shopping bot เป็นโปรแกรมประเภท agents ที่ ออกแบบมาช่วยเหลือผู้ที่ต้องการจะสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต เมื่อกำหนดคุณลักษณะสินค้าที่ต้องการแล้วโปรแกรมเหล่านี้จะทำหน้าที่ค้นหา เปรียบเทียบ แยกประเภท และสรุปรายการสินค้าหรือบริการให้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างโปรแกรมเหล่านี้ได้แก่
± MySimon, BestWebBuys.com, Metaprices.com, AuctionBot

อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต
± เนื่อง จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพที่ดีมาก ดังนั้นจึงมีผู้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในองค์กร จึงเรียกการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้ในองค์กรนี้ว่า ระบบอินทราเน็ต(intranet)
± อิน ทราเน็ต จึงเป็นระบบเครือข่ายภายในที่สามารถให้บริการได้ในทุกส่วนขององค์กร โดยใช้โครงข่ายแบบเดิมผนวกเข้ากับมาตรฐานการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีอิน เทอร์เน็ต
± ระบบอินทราเน็ตเป็นระบบปิด ที่ไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้งานได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นจึงมีการติดตั้งไฟร์วอลล์(Firewall) ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบภายในองค์กร
± ไฟร์วอลล์ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการกั้นข้อมูลที่ไหลเข้าออกองค์กรโดยมีการกลั่นกรองก่อนเสมอ
± Extranet หมายถึงระบบอินทราเน็ตที่เปิดกว้างไปสู่ระบบเครือข่ายภายนอก

ระบบเว็บไร้สาย(wireless web)
± ระบบ เว็บไร้สายช่วยให้ผู้ที่ใช้อุปกรสื่อสารไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับระบบอิน เทอร์เน็ตได้ในทุกสถานที่ที่ต้องการ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้หลายประเภท และทำให้เกิดบริการชนิดใหม่ที่เรียกว่า M-commerce

เทคโนโลยีที่สนับสนุนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
± ซอฟต์แวร์สำหรับเซิอร์ฟเวอร์ และเซิอร์ฟเวอร์
± ซอฟต์แวร์สำหรับการติดตามลูกค้าและการปรับแต่งให้เหมาะกับลูกค้า
± ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการข้อมูลในเว็บ
± ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บ

บทที่ 4 ฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล

บทที่ 4 ฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล

นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น
เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย 
- แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้
รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (1 : 1)
2.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม(One-to-many Relationships)เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะ (1:m) ตัวอย่างเช่น
3.ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)


เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า“ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน

ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย
4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น
5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง

ระบบจัดการฐานข้อมูล
หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
  1. แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
  2. นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
  3. ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
  4. รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
  5. เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาต้า (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
  6. ดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้ ในการติดต่อกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลได้ โดยจะทำหน้าที่ติดต่อกับระบบแฟ้มข้อมูลซึ่งเสมือนเป็นผู้จัดการแฟ้มข้อมูล (file manager) นำข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งาน และทำหน้าที่ประสานกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล
  7. ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกัน (Concurrency Control) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โปรแกรมการทำงานมักจะเป็นแบบผู้ใช้หลายคน (Multi User) จึงทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัติควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันนี้ จะทำการควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันได้ โดยมีระบบการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ถ้าการแก้ไขข้อมูลนั้นยังไม่เรียบร้อย ผู้ใช้อื่นๆ ที่ต้องการเรียกใช้ข้อมูลนี้จะไม่สามารถเรียกข้อมูลนั้นๆ ขึ้นมาทำงานใดๆ ได้ ต้องรอจนกว่าการแก้ไขข้อมูลของผู้ที่เรียกใช้ข้อมูลนั้นก่อนจะเสร็จเรียบร้อย จึงจะสามารถเรียกข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเรียกใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  8. ควบคุมระบบความปลอดภัยของข้อมูลโดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาเรียกใช้หรือแก้ไขข้อมูลในส่วนป้องกันเอาไว้ พร้อมทั้งสร้างฟังก์ชันในการจัดทำข้อมูลสำรอง
  9. ควบคุมการใช้ข้อมูลในสภาพที่มีผู้ใช้พร้อม ๆ กันหลายคน โดยจัดการเมื่อมีข้อผิดพลาดของข้อมูลเกิดขึ้น
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
  1. ออราเคิล (Oracle)
  2. ไมโครซอฟท์ เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server)
  3. มายเอสคิวแอล (MySQL)
  4. ไมโครซอฟต์ แอคเซส (Microsoft Access)
  5. ไอบีเอ็ม ดีบีทู (IBM DB/2)
  6. ไซเบส (Sybase)
  7. PostgreSQL
  8. Progress
  9. Interbase
  10. Firebird
  11. Pervasive SQL
  12. แซพ ดีบี (SAP DB)