วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

สรุปบทที่ 2

องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

องค์การ คือ หน่วยสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคล โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกัน มีการจัดการอย่าง เป็นระบบ ร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้   ลักษณะองค์การ นักวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่าง ๆ กันในหลายลักษณะ สรุป ได้ดังนี้ 1. องค์การเป็นโครางสร้างของความสัมพันธ์  (Organization as a Structure of Relationship) แนวคิดนี้มององค์กร ในลักษณะหน่วยงานย่อยต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์กัน มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานย่อย 2. องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People) แนว คิดนี้มององค์การว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มี เป้าหมายร่วมกัน บุคคลจะแสวงหาความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆเสมอ ท างานร่วมกับบุคคลอื่นก็เพื่อสนองความต้องการของตน 3. องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a Function of Management) แนวคิดนี้มององค์การเป็น หน้าที่ส าคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะต้องท าการ จัดการเพื่อน าปัจจัยต่าง ๆขององค์การมาใช้ คือ คน เงิน วัสดุ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ  4. องค์การเป็นกระบวนการ (Organization as a Process) แนวคิดนี้มององค์การเป็นกระบวนการจัดกลุ่มงานที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกันมารวมกันไว้ มีการแบ่งงานกันท าตามความถนัดและร่วมมือกันท างาน  5. องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System) แนว คิดนี้มององค์การเป็นระบบเปิดประกอบด้วยระบบ ย่อย ๆโดยมีปัจจัยน าเข้า (input) กระบวนการ (process)  ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feed-back) และสิ่งแวดล้อม (environment) 


องค์ประกอบขององค์การ คือ 
1. กลุ่มบุคคล  
2. มีเป้าหมายร่วมกัน  
3. การกำหนดหน้าที่  
4.การแบ่งงานความสัมพันธ์ระหว่างกัน
   
โครงสร้างองค์การ (Organization  Structure)  หมายถึง  ระบบการติดต่อสื่อสาร และอ านาจบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อ คน และกลุ่มคนเข้าด้วยกัน  เพื่อท างานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายขององค์การ 
โครงสร้างขององค์การประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 
1. วัตถุประสงค์ (Objective)   
2. ภาระหน้าที่ (Function)   
3. การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)   
4. การบังคับบัญชา (Hierarchy)   
5. ช่วงของการควบคุม (Span  of  Control)   
6. เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity  of  Command)   


รูปแบบองค์การ รูปแบบที่เป็นทางการ  เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างมีระบบ แบบแผน ชัดเจน  ครอบคลุมทุกส่วนของ การปฏิบัติงาน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ รูป แบบที่ไม่เป็นทางการ  เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม  อย่างไม่มีระบบของการบริหารไม่กฎเกณฑ์  ไม่ ระเบียบข้อบังคับของการปฏิบัติงาน 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสมัย (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้ 
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)

การตัดสินใจ ระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence)   เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียดของปัญหาหรือโอกา
2.การออกแบบ (Design)   เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมถึงการตรวจสอบและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา หรือออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
3.การคัดเลือก (Choice)   ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของแต่ละแนวทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุด

4.การนำไปใช้ (Implementation)  เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติและคิดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใด จะต้องแก้ไข้หรือปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ 
การตัดสินใจสามารถถูกจำแนกให้สอดคล้องกับระดับของการจัดการออกเป็น 3 ระดับ 
1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making)  การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและการวางแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยทั่วไปสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความไม่แน่นอน และไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้าได้
2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาในลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น กาจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด การวางแผนงบประมาณระยะกลาง และการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3.การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making)  การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานซึ่งเกี่ยวข้องกับงานประจำหรือการปฏิบัติงานเฉพาะด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานเหล่านั้นได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อการควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในระดับนี้เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าและทำการตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติเนื่องจากจะเป็นปัญหาในเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน ตัวอย่างของการตัดสินใจ เช่น การกำหนดเวลาสั่งสินค้าคงคลังจำนวนวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อแต่ละครั้ง การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ และการมอบหมายงานให้พนักงานเป็นรายบุคคล


วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 1

สรุป ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข้อมูลหมายถึงข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ   ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  โดยข้อมูลดิบยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์ หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้   ขณะที่สารสนเทศหมายถึง  ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ช่วยในการตัดสินใจ  วางแผน  กำหนดเป้าหมาย  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานได้อย่างดี ของผู้บริหาร   
 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  หมายถึง  ระบบที่จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์   เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ    เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   โดยที่ MISประกอบด้วย  3  ส่วนสำคัญดังนี้
1.เครื่องมือในการสร้าง เป็นส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเป็นสารสนเทศ  และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.วิธีการประมวลผลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล   เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ
3.การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากสารสนเทศ   มักเป็นรูปแบบของรายงานต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง  และหัวหน้าพนักงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยมีระดับการใช้งานที่แตกต่างกันโดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ  ความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์กร
2.เข้าใจความต้องการของระบบและสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์
3.มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
4.บริหารตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสารคมนาคม
5.เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก   เช่นการเงิน  การตลาด  หรือการปฏิบัติการ การจัดองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ  หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ  หน่วยเขียนชุดคำสั่ง  และหน่วยปฏิบัติการและบริการ  เป็นต้น

ประเภทของระบบสารสนเทศและการทำงานของระบบสารสนเทศ
1.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็น ระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File) หรือฐานข้อมูล(Database) และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ (Routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ    โดยปกติ พนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อน ข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้ เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer Integrated Systems หรือ CIS เช่น ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 
1.1               การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียว การออกแบบลักษณะการประมวลผลแบบกลุ่มก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของงาน 
1.2               การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing หรือ OLTP เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน 
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เป็น ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
            2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี
            2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ
            2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทัน เวลา
            2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็น ระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ สำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS
ปัจจุบัน ได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาด ใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ เรียกว่า Online Analytical Processing หรือ OLAP สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse) ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
        โดยทั่วไปการตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้ บริหาร ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)
GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความ คิด เห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่ม และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่ กันได้ด้วย
นอก จาก GDSS แล้ว ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่ และเส้นทางการเดินทาง
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และรวดเร็วต่อความต้องการ ใช้งานได้ง่าย
EIS สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอ สารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
 5. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ และระบบการจัดการสำนักงาน 
APPLICATIONS OF SOCIAL BUSINESS
1Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก 
2. Crowdsourcing เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd + Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่ ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Online หรือในโลก Cyber นั่นเอง
3.shared workspaces  คือ การที่บรรดาธุรกิจขนาดเล็กและเจ้าของกิจการทั้งหลายมานั่งทำงานร่วมกันในสถานที่เดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้ สิ่งที่ทำให้การทำงานแบบ Co-working แตกต่างไปจากการทำงานในออฟฟิศทั่ว ๆ ไปคือ ทุกคนทำงานอิสระ ไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แม้ว่าแนวคิดการทำงานแบบ Co-working จะค่อนข้างใหม่ แต่ตอนนี้ก็มี Co-working Space เปิดให้บริการแล้วกว่า 2000 แห่ง ใน 6 ทวีปทั่วโลก
4.Blogs คือ เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน ... - โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์"
Wikis คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็น ตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน
5. social Commerce คือส่วนย่อยของ E-Commerce ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ Social Media และสื่อออนไลน์อื่นๆ ในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน เพื่อช่วยให้เกิดการซื้อขายสินค้าและบริการบนอินเตอร์เน็ต
6.คืออะไร File share คือ Folder ที่ทำการการ Share อยู่บน Server ให้บุคคลกรในองค์กร Access เข้าไปถึงทรัพยากรที่อยู่ในภายใน Folder ที่ทำการ Share อยู่บน Server และเนื่องจากองค์กรมีบุคคลกรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน เราจึงต้องมีการกำหนด premissions ในการถึง File Share ที่แตกต่างกันซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
-Full Control คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน,และสุดท้ายคือการให้สิทธิ user ภายในองค์กรได้
-Change คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน ได้ แต่ไม่สามารถทำการให้สิทธิ ผู้อื่นภายในองค์กรได้
-Read คือสามารถทำการ อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถทำการ เขียนหรือทำการแก้ไขได้ ให้สิทธิผู้อื่นก็ไม่ได้
7.Social marketing คือ ลยุทธ์การตลาด เพื่อเป้าหมายสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร สะท้อนภาพลักษณ์ของสินค้า (Brand and Product Image) ยังคงเป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญนอกเหนือการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว กิจกรรมตอบแทนสังคม (Social Marketing) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ทางอ้อม ของแผนการตลาด และเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้านั้นๆ ที่สำคัญจะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท (Tactical Marketing) ในการสื่อสารถึงผู้บริโภคเกี่ยวกับจุดเด่นและความต่างของสินค้าว่าเป็นอย่างไร โดยต้องรู้ตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด 
8.Communities คือ ชุมชนไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันความเป็นชุมชนอยู่ที่คนในชุมชนจำนวนหนึ่ง(คนละพื้นที่ก็ได้)มีวัตถุประสงค์ร่วมกันติดต่อสื่อสารกันมีความเอื้ออาทรต่อกันมีการเรียนรู้ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆความเป็นชุมชนไม่เฉพาะขอบเขตของหมู่บ้านแต่รวมถึงลึกษณะเครือข่ายของความสัมพันธ์ที่กว้างขวางทั้งระบบอุปถัมภ์และแบบเครือญาติ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

           องค์กร (organization) หมายถึง บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้ง องค์กรที่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น  หากองค์กรหลายๆองค์กรรวมกันอาจเรียกได้อีกอย่างว่า “องค์การ”
          องค์การ  (Orgnization) หมายถึง รูปแบบของการทำงานของมนุษย์ที่มีลักษณะการทำงานเป็นกลุ่ม ที่มีการประสานงานกันตลอดเวลา ตลอดจนต้องมีการกำหนดทิศทาง มีการจัดระเบียบวิธีทำงานและติดตามวัดผลสำเร็จของงานที่ทำอยู่เสมอด้วย
การสร้างมิตรภาพดีก็ส่งผลให้ผลงานที่ทำมีประสิทธิภาพ และทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข สุภาพจิตก็ดีอีกด้วย ซึ่งวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมองค์กร มีดังนี้
  1. คิดก่อนพูด ก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ถามตนเองก่อนเสมอว่า สิ่งที่กำลังจะพูดนี้ส่งผลดีต่อตัวคุณเองมากน้อยแค่ไหน
  2. พูดสั้น กระชับ ตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะไม่พอใจหรือพอใจอะไรก็ตามในที่ทำงาน ทางที่ดีที่สุดในการสื่อสารคือการพูดอย่างตรงไปตรงมา แทนที่จะพูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง เพราะนอกจากจะไม่มีใครเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของตัวคุณเองแล้ว ยังเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
  3. ใช้เทคนิค เข้าใจ เข้าถึง เข้ากัน เทคนิคที่ทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกโกรธ แม้ว่าคุณทั้งสองคนจะมีความเห็นไม่ตรงกัน โดยเริ่มแรกบอกคู่สนทนาของคุณว่าคุณเข้าใจเขา หลังจากนั้นยกตัวอย่างกรณีอื่น ๆ ที่คล้ายกัน และสุดท้ายบอกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้อื่นได้สัมผัสถึงผลลัพธ์ของการที่คุณและคู่สนทนาของคุณมีความเห็นไม่ตรงกัน เช่น ฉันเข้าใจว่าถึงความรู้สึกของคุณหลังจากที่คุณเห็นรถคันนั้นครั้งแรก มันเหมือนกับความรู้สึกของฉันในตอนนั้น และฉันก็รู้สึกแบบนั้นหลังจากที่ซื้อรถคันใหม่เมื่อไม่นานมานี้ และหลังจากที่ฉันขับมันกลับบ้านฉันก็พบว่าใคร ๆ ก็ต่างอิจฉาฉัน
  4. ยอมรับ ใคร ๆ ก็อยากภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ และได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และบางครั้งการยอมรับก็ดีกว่าที่จะโต้เถียงกัน ดังนั้นบางครั้งคุณอาจต้องยอมรับในสิ่งที่คุณทำผิดพลาดไปบ้าง เพื่อไม่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
  5. คุมสถานการณ์ด้วยน้ำเสียง ในที่ประชุม ถ้าคุณต้องใช้เวลาในการพูดนานสองนาน และที่ประชุมเริ่มเหนื่อยหน่าย ลองเปลี่ยนน้ำเสียงให้ช้าลง เพิ่มจังหวะในการพูด การพูดจะน่าฟังขึ้น หรือหากคุณกำลังโกรธ ลองใช้น้ำเสียงที่เย็นลงอาจทำให้เรื่องราวดีขึ้นได้
  6. มั่นใจที่จะเป็นหนึ่ง การสงวนท่าที บางครั้งก็ไม่ให้ผลดีเสมอไป แสดงออกให้เห็นว่าคุณมีความคิดดี ๆ ในการทำงาน และบอกมันออกไปแบบไม่โอ้อวด คุณก็จะได้รับการยอมรับ
  7. ทำตามสัญญา และทำให้เหนือความคาดหวัง ในการทำงานหากคุณสัญญาจะส่งของให้ลูกค้าในวันจันทร์ คุณควรทำให้ได้ตามที่พูดไว้ แต่หากคุณสามารถส่งของได้ตั้งแต่เช้าตรู่วันวันจันทร์ หรือเย็นวันอาทิตย์ นั่นหมายถึงความรับผิดชอบที่สูงยิ่งของคุณที่เหนือความคาดหมาย และคุณจะได้รับความเชื่อใจในทันที
  8. โน้มน้าวอย่างมีศิลปะ เริ่มบทสนทนาด้วยการชมเชยในสิ่งที่คุณและเขาได้ร่วมกันทำมา หลังจากนั้นเสนอสิ่งที่คุณต้องการจากเขา และสุดท้ายยกย่องหากเขาสามารถทำในสิ่งที่คุณต้องการได้

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 1 บทนำ

ความหมาย ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Networt 🚽

          ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (อังกฤษmanagement information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าทาง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในทางวิชาการคำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ