สรุป ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข้อมูลหมายถึงข้อมูลดิบที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยข้อมูลดิบยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ประโยชน์ หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศหมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ช่วยในการตัดสินใจ วางแผน กำหนดเป้าหมาย และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานได้อย่างดี ของผู้บริหาร
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ MISประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้
1.เครื่องมือในการสร้าง เป็นส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเป็นสารสนเทศ และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.วิธีการประมวลผลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ
3.การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากสารสนเทศ มักเป็นรูปแบบของรายงานต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีระดับการใช้งานที่แตกต่างกันโดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ ความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์กร
2.เข้าใจความต้องการของระบบและสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์
3.มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
4.บริหารตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารคมนาคม
5.เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก เช่นการเงิน การตลาด หรือการปฏิบัติการ การจัดองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ หน่วยเขียนชุดคำสั่ง และหน่วยปฏิบัติการและบริการ เป็นต้น
ประเภทของระบบสารสนเทศและการทำงานของระบบสารสนเทศ
1.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็น
ระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว
ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า
ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File)
หรือฐานข้อมูล(Database) และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ
(Routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ
โดยปกติ
พนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้
แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อน
ข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้ เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer
Integrated Systems หรือ CIS เช่น
ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของ
TPS แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1
การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด
แล้วจึงจะประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียว
การออกแบบลักษณะการประมวลผลแบบกลุ่มก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
และให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของงาน
1.2
การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่
ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online
Transaction Processing หรือ OLTP เช่น
การจองตั๋วเครื่องบิน
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เป็น
ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล
ที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน
ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี
2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ
2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทัน เวลา
2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น
2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี
2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ
2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทัน เวลา
2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็น ระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ
มาใช้ในการตัดสินใจ
และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ
เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ สำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS
ปัจจุบัน ได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาด ใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ เรียกว่า Online Analytical Processing หรือ OLAP สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse) ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน
ลักษณะ สำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS
ปัจจุบัน ได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาด ใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ เรียกว่า Online Analytical Processing หรือ OLAP สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse) ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(DSS)
โดยทั่วไปการตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้ บริหาร ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)
GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความ คิด เห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่ม และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่ กันได้ด้วย
นอก จาก GDSS แล้ว ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่ และเส้นทางการเดินทาง
โดยทั่วไปการตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้ บริหาร ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)
GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความ คิด เห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่ม และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่ กันได้ด้วย
นอก จาก GDSS แล้ว ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่ และเส้นทางการเดินทาง
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information
Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา
ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์
ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ
จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และรวดเร็วต่อความต้องการ
ใช้งานได้ง่าย
EIS สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอ สารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
EIS สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอ สารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
5.
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems:
OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน
การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร
ระบบการจัดการข่าวสาร ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ
และระบบการจัดการสำนักงาน
APPLICATIONS
OF SOCIAL BUSINESS
1. Social Network หรือ เครือข่ายสังคม
(ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม
สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ
และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น
ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ
เพลง อัปโหลดรูป บล็อก
2. Crowdsourcing เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd + Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ
และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่
ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing
เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Online หรือในโลก Cyber
นั่นเอง
3.shared workspaces คือ
การที่บรรดาธุรกิจขนาดเล็กและเจ้าของกิจการทั้งหลายมานั่งทำงานร่วมกันในสถานที่เดียวกัน
ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้
สิ่งที่ทำให้การทำงานแบบ Co-working แตกต่างไปจากการทำงานในออฟฟิศทั่ว ๆ ไปคือ ทุกคนทำงานอิสระ
ไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แม้ว่าแนวคิดการทำงานแบบ Co-working
จะค่อนข้างใหม่ แต่ตอนนี้ก็มี Co-working Space เปิดให้บริการแล้วกว่า 2000 แห่ง ใน 6 ทวีปทั่วโลก
4.Blogs คือ เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง
ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว
ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน ... -
โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์"
Wikis
คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้
เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข
ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ
คำว่า "วิกิ" นี่ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็น ตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้
หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน
5. social Commerce
คือส่วนย่อยของ
E-Commerce ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ Social Media และสื่อออนไลน์อื่นๆ
ในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน
เพื่อช่วยให้เกิดการซื้อขายสินค้าและบริการบนอินเตอร์เน็ต”
6.คืออะไร File share คือ Folder ที่ทำการการ Share
อยู่บน Server ให้บุคคลกรในองค์กร Access เข้าไปถึงทรัพยากรที่อยู่ในภายใน Folder ที่ทำการ Share อยู่บน Server และเนื่องจากองค์กรมีบุคคลกรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
เราจึงต้องมีการกำหนด premissions ในการถึง File Share ที่แตกต่างกันซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
-Full Control คือสามารถทำการ
เขียน,อ่าน,และสุดท้ายคือการให้สิทธิ
user ภายในองค์กรได้
-Change คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน ได้ แต่ไม่สามารถทำการให้สิทธิ ผู้อื่นภายในองค์กรได้
-Read คือสามารถทำการ
อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถทำการ เขียนหรือทำการแก้ไขได้ ให้สิทธิผู้อื่นก็ไม่ได้
7.Social marketing คือ ลยุทธ์การตลาด
เพื่อเป้าหมายสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร สะท้อนภาพลักษณ์ของสินค้า (Brand and Product Image) ยังคงเป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญนอกเหนือการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว กิจกรรมตอบแทนสังคม
(Social Marketing) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ทางอ้อม
ของแผนการตลาด และเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้านั้นๆ
ที่สำคัญจะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท (Tactical Marketing) ในการสื่อสารถึงผู้บริโภคเกี่ยวกับจุดเด่นและความต่างของสินค้าว่าเป็นอย่างไร
โดยต้องรู้ตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
8.Communities
คือ ชุมชนไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันความเป็นชุมชนอยู่ที่คนในชุมชนจำนวนหนึ่ง(คนละพื้นที่ก็ได้)มีวัตถุประสงค์ร่วมกันติดต่อสื่อสารกันมีความเอื้ออาทรต่อกันมีการเรียนรู้ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆความเป็นชุมชนไม่เฉพาะขอบเขตของหมู่บ้านแต่รวมถึงลึกษณะเครือข่ายของความสัมพันธ์ที่กว้างขวางทั้งระบบอุปถัมภ์และแบบเครือญาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น